Friday, February 13, 2009

Autoethnography

เคยคิดอยู่เสมอว่าการเขียนบันทึกนั้นให้อะไรดีดี เขียนครั้งแรก ตอนนั้นคิดว่าอกหักรู้สึกคับข้องใจมากไม่รู้จะทำไงเพื่อนคนหนึ่งที่สนิทกันมากตอนนั้น ก็แนะนำว่าลองเขียนบันทึกสิ จะได้สบายใจขึ้น

ตั้งแต่นั้นมาเวลารู้สึกไม่ดี ไม่รู้จะบอกใคร เจ้าสมุดบันทึกเล่มน้อยใหญ่ ก็กลายเป็นเพื่อน เป็นครู ที่คอยสอนอะไรบางอย่างเสมอๆ เวลาที่เราย้อนกลับไปอ่านมัน เห็นอารมณ์ความรู้สึกบางอย่าง ที่ ณ ขณะเวลานั้นเราไม่อาจมองเห็นได้ ทำให้รู้เลยว่า มันบอกอะไรเราหลายๆ อย่าง และเรียนรู้ได้เยอะมากจากมัน

ถ้ามีโอกาสก็มักจะไม่ละทิ้งการเขียนนี้ สม่ำเสมอ ตอนเด็กๆ รู้ว่าแม่แอบอ่าน ตอนแรกรู้สึกแย่ๆ แต่มาคิดดูตอนนี้ แม่เข้าใจเรามากขั้น มากขึ้นก็จากการที่แอบอ่านบันทึกเรานี่แหละ ไม่น่าแปลกใจว่าต่อมาเรากลายเป็นคนเขียนบันทึก แต่จะเขียนออกก็เฉพาะเวลาเศร้าเท่านั้น

เมื่อวานมีคุณหมอธนาเป็นพ่องาน ช่วยเชิญเพื่อนคุณหมอ ซึ่งเธอเป็นชาวต่างชาติ หน้าตาน่ารักสะสวยชื่อคุณฟี เธอกำลังทำปริญญาเอก เรื่องผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยใช้วิธีวิจัยแบบใหม่ Autoethnography ที่เรากำลังสงสัย และสนใจว่ามันเป็นยังไง

ทั้งหมดทั้งมวลเป็นเรื่องการเขียนบันทึกเป็นสำคัญ และที่ทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆ มากกว่านั้นก็ตรงที่เราน่าจะได้เรียนรู้เรื่องต่างๆ จากการเขียน อย่างมีวินัยในตนเอง อาจจะตลอดชีวิตเลยก็ได้ นี่เป็นความรู้สึกหลังจากที่ได้ฟังคุณฟีเล่าเรื่องราวต่างๆ ของเธออย่างออกรสออกชาติ เกิดเป็นแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่ว่า นี่ล่ะ ฉันจะได้ทำสิ่งที่ฝันมาตลอด หนึ่งเขียนหนังสือ และสองเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเองและที่สัมพันธ์กับผู้อื่น อา....... คิดไปไกลอีกว่าเนี่ยแหละวิทยานิพนธ์แบบจิตตปัญญาที่อยากทำ อาจจะไม่ได้ต้องการให้โลกทั้งโลกยอมรับเรา แต่ที่แน่ๆ เราได้ประโยชน์มากที่สุดจากการฝึกฝนแบบนี้และเป็นสิ่งที่คนอื่นสามารถเรียนรู้จากเรื่องแบบนี้ได้อย่างตรงที่สุด และถ้าคนอื่นสนใจ สิ่งที่เขาจะทำคือ การเข้ามามีประสบการณ์ตรงกับเรื่องราวต่างๆ ร่วมกัน

มีความสุขและความหวังมากที่เจอกัน ขอบคุณมากนะคะคุณฟี

2 comments:

Anonymous said...

:D
อยากอ่านๆ

นิ้ง

Unknown said...

นี่รู้มั้ย เราเข้ามาโพสต์เพราะหาคำว่า autoethnography แล้วเจอ "นักรบเพนกวิน" อยู่ในอันดับหกของลิสต์ :-) เขียนเข้าใจง่ายดีจัง เราเลยพอรู้เลาๆไปด้วยว่าคืออะไรค่ะ ขอบคุณ
มิ